ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนกุดตาดำ(คงฤทธิ์คุรุราษฎร์สามัคคี)       ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2480 โดยนายอุ่นเรือน เดชเมืองประทุมวัน นายอำเภอ ซึ่งได้ใช้ศาลาการเปรียญวัดกุดตาดำเป็นสถานที่เรียนและใช้ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลพังเทียม 5 (วัดกุดตาดำ)

                พ.ศ. 2482 ได้มีการแยกตำบลใหม่เป็นตำบลสระพระ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประชาตำบลสระพระ(วัดกุดตาดำ)

                พ.ศ. 2479 นายเสริม สุรีย์ ครูใหญ่ได้ดำเนินการขอรับบริจาคเงินจากประชาชน และได้ของบประมาณสมทบจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีขุนคงฤทธิ์ศึกษากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติสั่งจ่ายเงินจร ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในเบื้องต้นนี้โรงเรียนได้จับจองที่ดินว่างเปล่าจำนวน 5 ไร่ และได้มีผู้บริจาคสมทบเพิ่มเติมรวมเป็น 25 ไร่ ดังนี้

                1. นายแต้ม สุทธิพันธุ์                     บริจาค 20 ไร่

                2. นายสุข มีศิลป์                              บริจาค 1 ไร่

                3. นายเสริม สุรีย์                              บริจาค 4 ไร่

                และยังมีที่ดินในส่วนอื่นๆ ที่โรงเรียนได้จัดหาเพิ่มเติมอีกรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 32 ไร่ 36 ตารางวา โดยแบ่งออกเป็น 3 แปลง ดังนี้

                แปลงที่ 1 เป็นที่ตั้งโรงเรียน เป็นสถานที่ปลูกอาคารเรียน อาคารประกอบและสนามกีฬา จำนวน 20 ไร่

                แปลงที่ 2 เป็นที่ทำการเกษตรของโรงเรียนใช้ทำนา เพราะเป็นที่ลุ่มจำนวน 7   ไร่ อยู่ติดกับสระน้ำบ้านทัพรั้ง หมู่ที่ 1

                แปลงที่ 3 เป็นที่ทำการเกษตรของโรงเรียนใช้ปลูกพืชล้มลุกไม้ยืนต้นและสร้างบ้านพักครูเพราะเป็นที่ดอนมีจำนวน 5 ไร่ อยู่ติดกับสถานีอนามัยตำบลทัพรั้ง

                เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2500 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนถาวร เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงเรียนกุดตาดำ(คงฤทธิ์คุรุราษฎร์สามัคคี) จนกระทั่งทุกวันนี้

                พ.ศ. 2514 จังหวัดได้อนุมัติให้โรงเรียนขยายการศึกษาถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ป.7 ประเภทไม่บังคับ

                พ.ศ. 2535 ทางราชการได้อนุมัติให้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นสอนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช 2521 และฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2533)

           พ.ศ. 2550 ทางราชการได้อนุมัติให้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นสอนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช 2544 และฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2551) จนถึงปัจจุบัน

 

 

 

Additional information